เครื่องดนตรีแบบสาย
วันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2554
การอ่านโน๊ตไวโอลิน
Violin Scales
ภาพแรกนี้เหมาะสำหรับคนเริ่มเรียนไวโอลินแบบไปรเวท ที่ยังอ่านโน๊ตไม่ได้
คนที่เรียนชั่วโมงแรก ๆ อาจยังไม่เข้าใจว่าจะจับต้นชนปลายยังไงดีภาพ
นี้คงช่วยได้ พอสมควร เพราะทำให้ชัดเจนขึ้นว่าก่อนอื่นต้องจำโน๊ตที่มีชื่อ
เรียกแตกต่างกันสอง ชุดให้ได้คล่อง ต้องจำชื่อตัวโน๊ตเมื่ออยู่บนบรรทัดห้าเส้น
ให้ได้คล่องด้วย และตาม ภาพก็จะมีการเทียบเสียงที่อยู่บนสายให้ดูด้วย
ถ้าสามารถจำตัวโน๊ตตามภาพนี้ คล่องแคล่วรับรองได้ว่า ไปได้สวยแน่นอน
ทั้งเด็กและผู้ใหญ่
ถ้าสามารถจำตัวโน๊ตตามภาพนี้ คล่องแคล่วรับรองได้ว่า ไปได้สวยแน่นอน
ทั้งเด็กและผู้ใหญ่
การดูแลรักษาไวโอลิน
ไม้กับความชื้น (Wood and Water)
ไม้ไม่สามารถรักษาสภาพของตัวเองได้ดีนักเมื่อถูกความชื้น แม้ว่าไม้จะคงรูปได้ดีขึ้นหลังจากที่ผ่านกระบวนการอบเป็นอย่างดีก็ตาม แต่ไม้ยังคงพองหรือบวมเมื่อถูกความชื้น และหดตัวเมื่ออากาศแห้ง ไม้ที่ใช้ทำชิ้นส่วนบางอย่างของไวโอลินจะคงรูปดีกว่าไม้ที่ใช้ทำเครื่องดนตรีอื่นๆ นอกจากนั้น ไม้ทุกชนิดจะหดตัวในแนวขวางของลายไม้มากกว่าการหดตัวตามยาว
ในช่วงเดือนที่มีความชื้นสูงๆ ไม้แผ่นหน้ามักจะเกิดการขยายตัวมากกว่าอาการคอไวโอลินตก ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้สายไวโอลินเหนือสะพานวางนิ้วลอยสูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงของความชื้นในอากาศอาจเป็นสาเหตุให้การเล่นและการตอบสนองของเสียงเกิดการแกว่งตัว และอาจทำให้เกิดปัญหาที่หนักกว่านั้นคือ ไม้เกิดการปริแตกเมื่อสูญเสียความชื้นอย่างรวดเร็วกว่าที่มันดูดซึมเอาไว้ได้
แต่หย่องที่งอ ไม้แผ่นหลังที่ยุบ และคอไวโอลินที่ตก เป็นผลมาจากแรงกดอย่างต่อเนื่อง เมื่อไม้เริ่มบิดตัว มันจะสูญเสียความแข็งแรงจากรูปทรงเดิมอย่างรวดเร็ว และอาจทำให้เกิดความเสียหายหนักตามมา
เมื่อต้องส่งเครื่องดนตรีไปทางพัสดุภัณฑ์ ให้คลายสายออกเล็กน้อยและใช้วัสดุนุ่มๆ บุที่หย่องทั้ง 2 ด้านเสียก่อน ควรเก็บเครื่องดนตรีไว้ในกล่องของมันเองเพื่อความปลอดภัย หลังจากนั้นให้ห่อในกล่องสำหรับส่งของ บุรอบๆ กล่องด้วยวัสดุสำหรับห่อกล่อง
ถ้าหกล้มในขณะถือเครื่องดนตรี โดยสัญชาติญาณของคนส่วนใหญ่จะกอดกล่องไวโอลินไว้ข้างหน้า เพราะคิดว่าจะช่วยป้องกันไม่ให้เครื่องดนตรีแตกหักได้ แต่น่าเสียดายว่ากลับทำให้เครื่องดนตรีพังมา ควรใช้กล่องที่แข็งแรงซึ่งจะยึดไวโอลินให้ลอยอยู่ในกล่องเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการล้มคว่ำหงาย และพยายามหัดถือกล่องด้วยมือที่ไม่ถนัดให้เคยชิน เช่น ถือด้วยมือซ้ายถ้าคุณเป็นคนถนัดขวา ซึ่งจะทำให้เหลือมือข้างที่ถนัดไว้ป้องกันตนเองได้
ไม้ไม่สามารถรักษาสภาพของตัวเองได้ดีนักเมื่อถูกความชื้น แม้ว่าไม้จะคงรูปได้ดีขึ้นหลังจากที่ผ่านกระบวนการอบเป็นอย่างดีก็ตาม แต่ไม้ยังคงพองหรือบวมเมื่อถูกความชื้น และหดตัวเมื่ออากาศแห้ง ไม้ที่ใช้ทำชิ้นส่วนบางอย่างของไวโอลินจะคงรูปดีกว่าไม้ที่ใช้ทำเครื่องดนตรีอื่นๆ นอกจากนั้น ไม้ทุกชนิดจะหดตัวในแนวขวางของลายไม้มากกว่าการหดตัวตามยาว
ในช่วงเดือนที่มีความชื้นสูงๆ ไม้แผ่นหน้ามักจะเกิดการขยายตัวมากกว่าอาการคอไวโอลินตก ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้สายไวโอลินเหนือสะพานวางนิ้วลอยสูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงของความชื้นในอากาศอาจเป็นสาเหตุให้การเล่นและการตอบสนองของเสียงเกิดการแกว่งตัว และอาจทำให้เกิดปัญหาที่หนักกว่านั้นคือ ไม้เกิดการปริแตกเมื่อสูญเสียความชื้นอย่างรวดเร็วกว่าที่มันดูดซึมเอาไว้ได้
การบิดตัวของไม้ (Distortion)
ธรรมชาติของไม้มีความยืดหยุ่นในตัวเอง อาจจะค่อยๆ เปลี่ยนรูปร่างไปตามแรงที่มากระทำ ช่างทำไวโอลินอาศัยข้อดีอันนี้ในการขึ้นรูปแผ่นไม้ด้านข้าง (Rib) หรือการดัดไม้แต่หย่องที่งอ ไม้แผ่นหลังที่ยุบ และคอไวโอลินที่ตก เป็นผลมาจากแรงกดอย่างต่อเนื่อง เมื่อไม้เริ่มบิดตัว มันจะสูญเสียความแข็งแรงจากรูปทรงเดิมอย่างรวดเร็ว และอาจทำให้เกิดความเสียหายหนักตามมา
อุณหภูมิ (Temperature)
การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิเป็นสาเหตุที่ทำให้ไม้เกิดการขยายตัวและหดตัวเช่นเดียวกับวัตถุอื่นๆ ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาของอุณหภูมิและ ความชื้นในไม้ ควรจะใช้กล่องไวโอลินแบบสูญญากาศอย่างดี และอย่าวางไว้ไกล้รังสีความร้อนหรือวางถูกแสงแดดโดยตรง กล่องไวโอลินเกือบทุกชนิดที่บุด้วยวัสดุผิวด้านสีเข้มจะมีผลต่อการดูดซับแสงให้แปรเปลี่ยนเป็นความร้อนได้มากกว่าการเดินทาง (Travel) ขนส่ง (Shipping) การถือ (Carrying an instrument)
ถ้าเดินทางโดยรถยนต์ อย่าวางเครื่องดนตรีไว้ในกระโปรงท้ายรถ เพราะเครื่องดนตรีจะได้รับความร้อนมาก ทำให้ได้รับความเสียหายเมื่อต้องส่งเครื่องดนตรีไปทางพัสดุภัณฑ์ ให้คลายสายออกเล็กน้อยและใช้วัสดุนุ่มๆ บุที่หย่องทั้ง 2 ด้านเสียก่อน ควรเก็บเครื่องดนตรีไว้ในกล่องของมันเองเพื่อความปลอดภัย หลังจากนั้นให้ห่อในกล่องสำหรับส่งของ บุรอบๆ กล่องด้วยวัสดุสำหรับห่อกล่อง
ถ้าหกล้มในขณะถือเครื่องดนตรี โดยสัญชาติญาณของคนส่วนใหญ่จะกอดกล่องไวโอลินไว้ข้างหน้า เพราะคิดว่าจะช่วยป้องกันไม่ให้เครื่องดนตรีแตกหักได้ แต่น่าเสียดายว่ากลับทำให้เครื่องดนตรีพังมา ควรใช้กล่องที่แข็งแรงซึ่งจะยึดไวโอลินให้ลอยอยู่ในกล่องเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการล้มคว่ำหงาย และพยายามหัดถือกล่องด้วยมือที่ไม่ถนัดให้เคยชิน เช่น ถือด้วยมือซ้ายถ้าคุณเป็นคนถนัดขวา ซึ่งจะทำให้เหลือมือข้างที่ถนัดไว้ป้องกันตนเองได้
วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2554
โครงสร้างไวโอลิน
โครงสร้างของไวโอลิน เรียงจากบนไปล่าง
- หัวไวโอลิน (Scroll)
- โพรงลูกบิด (Pegbox)
- คอ (Neck)
- สะพานวางนิ้ว หรือ ฟิงเกอร์บอร์ด (Fingerboard)
- (Upper Bout)
- เอว (Waist)
- ช่องเสียง (F-holes)
- หย่อง (Bridge)
- (Lower Bout)
- ตัวปรับเสียง (Fine Tuners)
- หางปลา (Tailpiece)
- ที่รองคาง (Chinrest)
สกุลช่างที่ทำไวโอลิน
สกุลช่างทำไวโอลินสามารถแบ่งออกได้ดังนี้ได้ดังนี้
- สกุลช่างเบรสเชีย (Brescian School: พ.ศ. 2063 - พ.ศ. 2163) สร้างสรรค์งานตามแนวทางที่ได้วางรากฐานไว้โดย Gaspard Duiffopruggar
- สกุลช่างเครโมนา (Cremona School: พ.ศ. 2093 - พ.ศ. 2309) ถือเป็นสกุลช่างทำไวโอลินที่สำคัญที่สุด ผลงานของสกุลช่างเครโมนาเกิดจากการสร้างสรรค์ของช่างในตระกูล Amati, Stradivari, Guarneri, Bergonzi, Guadagnini ฯลฯ
- สกุลช่างเนเปิ้ลส์ (Neopolitan School: พ.ศ. 2223 - พ.ศ. 2343) สกุลช่างนี้จะถ่ายทอดผ่านทางช่างฝีมือทำไวโอลินชาวมิลานและเนเปิลส์ ประเทศอิตาลี ตระกูลช่างทำไวโอลินที่สำคัญได้แก่ตระกูล Grancino, Testore, Gagliano, Landofi ฯลฯ
- สกุลช่างฟลอเรนซ์ (Florentine School: พ.ศ. 2223 - พ.ศ. 2303) สกุลช่างนี้ฟลอเรนซ์จะรวมถึงช่างฝีมือทำไวโอลินชาวโรม และโบโลญญ่าด้วย ผ่านทางฝีมือของช่างทำไวโอลิน Gabrielli, Anselemo, Florentus, Techler และ Tononi
- สกุลช่างเวนิส (Venetian School: พ.ศ. 2233 - พ.ศ. 2307) สกุลช่างเวนิสนี้ได้เกิดขึ้นที่เมืองเวนิส โดยผ่านทางช่าง ได้แก่ Domenico Montagnana และ Sanctus Seraphin งานช่างสกุลนี้มีความใกล้เคียงกับงานของสกุลช่างโครโมนา
- สกุลช่างไทโรล (Tyrolese School: พ.ศ. 2183 - พ.ศ. 2239)
ประวัติไวโอลีน
ไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดไวโอลินได้ปรากฏขึ้นเมื่อช่วงเวลาใด แต่คาดว่าปรากฏขึ้นครั้งแรกในประเทศอิตาลีช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 ซึ่งเชื่อกันว่าผู้ผลิตนั้นดัดแปลงมาจากเครื่องดนตรียุคกลาง 3 ชนิด อันได้แก่ เรเบค (rebec) ซอเรอเนซองซ์ (the Renaissance fiddle) และ ลีรา ดา บราชโช (lira da braccio) ซึ่งเครื่องดนตรีทั้ง 3 ชนิดนี้มีลักษณะใกล้เคียงกับไวโอลิน แต่หลักฐานที่แน่นอนที่สุดก็คือ มีหนังสือที่ตีพิมพ์เกี่ยวกับไวโอลินในปี พ.ศ. 2099 (ค.ศ. 1556) แล้ว โดยได้ตีพิมพ์ที่เมืองลียง ประเทศฝรั่งเศส และคาดว่าช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่ไวโอลินน่าจะเผยแพร่ไปทั่วทวีปยุโรปแล้ว
ไวโอลินที่ถือว่าเป็นคันแรกของโลกถูกสร้างขึ้นโดย อันเดร์ อมาตี (Andrea Amati) ในช่วงครึ่งศตวรรษแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยการว่าจ้างของครอบครัวเมดิซี ซึ่งต้องการเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย ต่อมาด้วยคุณภาพที่ดีของเครื่องดนตรี พระเจ้าชาลส์ที่ 4 แห่งฝรั่งเศส จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ อันเดร์ ประดิษฐ์ไวโอลินขึ้นมาอีก เพื่อมาเป็นเครื่องดนตรีบรรเลงประเภทใหม่ของวงออร์เคสตราประจำของพระองค์ และไวโอลินที่เก่าแก่สุดและยังให้เห็นอยู่ คือไวโอลินที่ อันเดร์ ประดิษฐ์ขึ้นในเมืองเครโมนา (Cremona) ประเทศอิตาลี ซึ่งได้ถวายแด่ พระเจ้าชาลส์ที่ 4 เช่นกันตรงกับปี พ.ศ. 2109 (ค.ศ. 1566)
แต่ไวโอลินที่น่าจะเก่าแก่และโด่งดังที่สุดน่าจะเป็นไวโอลินที่มีชื่อว่า เลอ เมสซี่ (Le Messie) หรือ Salabue ประดิษฐ์โดย อันโตนิโอ สตราดีวารี เมื่อปี พ.ศ. 2259 (ค.ศ. 1716) ซึ่งปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่ Ashmolean Museum แห่ง อ๊อกซฟอร์ด
ไวโอลินที่ถือว่าเป็นคันแรกของโลกถูกสร้างขึ้นโดย อันเดร์ อมาตี (Andrea Amati) ในช่วงครึ่งศตวรรษแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยการว่าจ้างของครอบครัวเมดิซี ซึ่งต้องการเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย ต่อมาด้วยคุณภาพที่ดีของเครื่องดนตรี พระเจ้าชาลส์ที่ 4 แห่งฝรั่งเศส จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ อันเดร์ ประดิษฐ์ไวโอลินขึ้นมาอีก เพื่อมาเป็นเครื่องดนตรีบรรเลงประเภทใหม่ของวงออร์เคสตราประจำของพระองค์ และไวโอลินที่เก่าแก่สุดและยังให้เห็นอยู่ คือไวโอลินที่ อันเดร์ ประดิษฐ์ขึ้นในเมืองเครโมนา (Cremona) ประเทศอิตาลี ซึ่งได้ถวายแด่ พระเจ้าชาลส์ที่ 4 เช่นกันตรงกับปี พ.ศ. 2109 (ค.ศ. 1566)
แต่ไวโอลินที่น่าจะเก่าแก่และโด่งดังที่สุดน่าจะเป็นไวโอลินที่มีชื่อว่า เลอ เมสซี่ (Le Messie) หรือ Salabue ประดิษฐ์โดย อันโตนิโอ สตราดีวารี เมื่อปี พ.ศ. 2259 (ค.ศ. 1716) ซึ่งปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่ Ashmolean Museum แห่ง อ๊อกซฟอร์ด
ไวโอลิน
ไวโอลิน เป็นเครื่องดนตรีที่ทำให้เกิดเสียงระดับเสียงสูงในกลุ่มเครื่องดนตรีคลาสสิกประเภทเครื่องสาย (String instruments) ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากโลกตะวันตก เป็นเครื่องดนตรีตระกูลไวโอลินที่เล็กที่สุด อันประกอบไปด้วย ไวโอลิน วิโอลา เชลโล และ ดับเบิลเบส เมื่อนำทั้งหมดมาเล่นร่วมกันแล้วจะเรียกว่า วงเครื่องสาย(string) ซึ่งเป็นตระกูลเครื่องดนตรีหลักของ วงออร์เคสตรา
วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2554
วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2554
ส่วนประกอบของกีตาร์
1.1 ชุดลูกบิด โดยทั่วไปที่เราพบเห็นก็จะมี 2 แบบ ได้แก่แบบที่ตัวลูกบิดหันไปด้านหลังตั้งฉากกับตัวกีตาร์แกนหมุนสายเป็นพลาสติกซึ่งจะใช้กับกีตาร์คลาสสิก หรือกีตาร์ฝึก(แต่จะเป็นแบบที่แกนหมุนสายเป็นเหล็กใช้กับกีตาร์ราคาไม่สูงนัก) และอีกแบบจะขนานกับตัวกีตาร์หรือแกนหมุนสายตั้งฉากกับตัวกีตาร์ซึ่งใช้กับกีตาร์โฟล์คหรือกีตาร์ไฟฟ้าทั่ว ๆ ไปที่เราเห็นนั่นเอง แต่ละบริษัทที่ผลิตลูกบิดกีตาร์นั้นจะมีระบบเป็นของตัวเองเช่นระบบล็อคกันสายคลายเวลาดีด อะไรเหล่านี้เป็นต้น
การปรับแต่งนั้นคุณสามารถที่จะทำได้ด้วยตัวเองโดยการถอดมันออกมาและใช้ตะไบถูกับฐานของมันหรือเซาะร่องทั้ง 6 ให้ลึกลงไป(วิธีหลังผมไม่แนะนำเท่าไรเพราะถ้าคุณเซาะร่องไม่ดีจะมีผลกับเสียงกีตาร์ของคุณ)กรณีที่สูงเกินไป ตรงกันข้ามถ้าต่ำไปก็หาเศษกระดาษหนา ๆ หรือเศษไม้มารองได้นัทจนได้ความสูงที่คุณพอใจ โดยปกติประมาณ 2 มม. สำหรับกีตาร์ไฟฟ้าบางรุ่น(โดยเฉพาะที่มีชุดคันโยก)มักจะมีนัทแบบที่ล็อคสายกีตาร์ได้คือจะมี 6 เหลี่ยมขันอัดให้โลหะชิ้นเล็ก ๆ ไปกดสายกีตาร์เพื่อกันสายคลายเมื่อเล่นคันโยก
กรณีที่คุณต้องเปลี่ยนนัทเช่นมีการแตกหัก คุณจะต้องเช็คขนาดของนัทของคุณให้ดีก่อนไปซื้อเพราะนัทมีขายหลายขนาดผมเคยแล้วไปซื้อมากลายเป็นคนละขนาดต้องไปเปลี่ยนอีก แต่ถ้าเป็นกีตาร์ระดับราคาไม่สูงนักคิดว่าคงไม่มีปัญหา
2. ส่วนคอกีตาร์ ประกอบด้วย
2.1 คอกีตาร์ คือส่วนที่เราใช้จับคอร์ดเล่นโน๊ตต่าง ๆ มีความสำคัญมากสำหรับกีตาร์ก่อนซื้อคุณจะต้องดูให้ดีดังที่แนะนำในหัวข้อการเลือกซื้อกีตาร์ คอกีตาร์ควรจะทำมาจากไม้ มะฮอกกานี หรือไม้ ซีดา หลัการที่สำคํญที่สุดคือคอกีตาร์ต้องตรง ไม่มีรอยแตกหรือปริของเนื้อไม้
2.2 fingerbord เป็นแผ่นไม้ที่ติดลงบนคอกีตาร์อีกชั้น เป็นตัวที่ใช้ยึดเฟร็ต หรือลวดลายมุกประดับต่าง ๆ และเราก็จะเล่นโน๊ตต่าง ๆ ของกีตาร์บนหน้าฟิงเกอร์บอร์ดนั่นเอง ไม้ที่นิยมใช้จะเป็นไม้ โรสวูด หรือไม้ อีโบนี ซึ่งมีเนื้อไม่แข็งเกินไป มีแแบที่แบนเรียบของกีตาร์คลาสสิก และกีตาร์โฟล์กับกีตาร์ไฟฟ้าส่วนใหญ่จะโค้งเล็กน้อยเพื่อให้เข้ากับนิ้วเวลาทาบบนคอ
2.3 เฟร็ต (fret) ทำมาจากโลหะฝังอยู่บนคอกีตาร์เป็นตัวที่จะกำหนดเสียงของโน็ตดนตรีจากการกดสายกีตาร์ลงบนเฟร็ตต่าง ๆ ซึ่งทำให้สายมีความสั้นยาวต่างกันไปตามการกดสายของเราว่ากดที่ช่องใดระยะสายที่เปลี่ยนไปก็คือระดดับเสียงที่เปลี่ยนไปด้วย สิ่งหนึ่งที่ควรคำนึงถึงคือระยะระหว่างเฟร็ตแต่ละตัวต้องได้มาตรฐาน มิฉะนั้นจะทำให้เสียงเพี้ยนได้แต่เราไม่สามารถเช็คระยะดังกล่าวได้เราอาจเช็คคร่าว ๆ จากฮาโมนิคซึ่งผมได้กล่าวแล้วในเรื่องการเลือกซื้อกีตาร์ลองไปอ่านดูก็ได้ครับ จำนวนของเฟร็ตก็จะขึ้นกับความยาวของคอกีตาร์ซึ่งแต่ละผู้ผลิตก็จะต่างกันไป ปกติกีตาร์คลาสสิกจะมีประมาณ 18 ตัว กีตาร์โฟล์คประมาณ 20 ตัว แต่กีตาร์ไฟฟ้าซึ่งมักจะมีการเล่นโซโลจึงมีช่องให้เล่นโน๊ตมากขึ้นประมาณ 22-24 ตัว และกีตาร์คลาสสิกซึ่งคอกีตาร์แบนราบ เฟร็ตก็จะตรง แต่กีตาร์โฟล์คหรือกีตาร์ไฟฟ้านั้นส่วนใหญ่จะมีคอที่โค้งเล็กน้อยก็จะมีเฟร็ตที่โค้งตามไปด้วย
2.4 มุกประดับ จุดประสงค์คือให้ใช้สังเกตตำแหน่งช่องกีตาร์ปกติจะฝังที่ช่อง (1),3,5,7,9,(10),12,14,17,19,21(ไม่แน่นอนตายตัวขึ้นกับผู้ผลิต) กีตาร์คลาสสิกจะไม่มีมุกประดับฝังบนหน้าฟิงเกอร์บอร์ดแต่จะฝังด้านข้างแทน แต่กีตาร์โฟล์คและกีตาร์ไฟฟ้าจะฝังไว้ทั้ง 2 ส่วน(บางรุ่นก็มีแต่ด้านข้าง) ทั้งนี้ขึ้นกับแต่ละผู้ผลิตจะออกแบบ โดยทั่วไปจะเป็นรูปวงกลม บาทีก็รูปข้าวหลามตัด หรือที่แพงหน่อยก็จะเป็นลายพวกไม้เลื้อย เลื้อยไปตามหน้าฟิงเกอร์บอร์ด
2.5 ก้านเหล็กปรับแต่งคอ (Truss Rod) ในกีตาร์ที่อยู่ในระดับกลางขึ้นไปจะมีแท่งเหล็กฝังอยู่ตามความยาวคอกีตาร์ด้วยเพื่อเสริมความแข็งแรงให้กับกีตาร์ป้องกันการโก่งตัวของคอกีตาร์ ซึ่งสามารถปรับแต่งได้เมื่อคอกีตาร์เกิดโก่งงอไปแต่การปรับแต่งนั้นถ้าคุณไม่แน่ใจอย่าเสี่ยงนะครับเพราะถ้าคุณฝืนมันมากไปอาจทำให้คอกีตาร์เสียหายก็ได้ให้ผู้ที่เขาชำนาญทำดีกว่าครับ
3. ส่วนลำตัวกีตาร์ ประกอบด้วย
3.1 ลำตัวกีตาร์ (body) หมายถึง 3 ส่วนได้แก่ ด้านหน้า(top) ควรทำมาจากไม้ อัลพาย สปรูซ (alpine spruce) ด้านหลัง (back) และด้านข้าง (side) ควรเป็นไม้โรสวูด(rosewood) และที่สำคัญคือลักษณะของไม้ต้องไม่มีรอยแตก ไม่มีตาไม้และมีลายไม้ที่ละเอียดไปตามความยาวจึงมีคุณภาพดี ส่วนที่เว้าของ body บางทีเราก็เรียกว่าเอว
การยึดโครงไม้ด้านใน(internal bracing) มีความสำคัญมากอีกเช่นกันเพราะไม้ที่ทำ body กีตาร์นั้นบางแต่ต้องรับแรงดึงที่สูงมาก ถ้าโครงยึดดังกล่าวไม่ดีหมายถึงกีตาร์คุณก็จะพังในเร็ววันแน่นอน รูปแบบการยึดจะแตกต่างกันตามเคล็ดลับของแต่ละผู้ผลิตและกีตาร์แต่ละรุ่นแต่ละประเภท โดยทั่วไปลักษณะเป็นรูปพัด (ในรูปเป็นตัวอย่างโครงยึดด้านในของกีตาร์คลาสสิก)ไม่รวมถึงกีตาร์ไฟฟ้าซึ่งเป็นทรงตัน หรือ solid body
3.2 โพรงเสียง (sound hole) ก็คือรูกลม ๆ หรือบางทีก็ไม่กลม ที่อยู่บนด้านหน้าของ body นั่นเอง มีหน้าที่รับเสียงจากการสั่นของสายกีตาร์ทำให้เกิดเสียงก้องดังขึ้น ซึ่งอาจจะมีลายประดับต่าง ๆ อยู่รอบๆ โพรงเสียงเพื่อความสวยงามอีก สำหรับกีตาร์โฟล์ค หรือกีตาร์แจ๊สมักจะมีแผ่นพลาสติกติดอยู่ด้านขอบโพรงเสียงใต้สาย 1 เรียกว่า Pickgard เพื่อป้องกันการขูดขีดผิวกีตาร์จากการดีดด้วยปิ๊คหรือเล็บครับ จะพบกีต้าร์ไฟฟ้าด้วยเหมือนกันครับ ยิ่งเป็นฟลาเมนโกกีต้าจะมีติดทั้งด้านสาย 6 และด้านสาย 1 เลย เพราะลักษณะการเล่นกีตาร์ฟลาเมนโก้จะมีการดีดสบัดนิ้วมากจึงป้องกันทั้ง 2 ด้าน
3.3 ปิคการ์ด (pick guard) สำหรับกีตาร์คลาสสิกซึ่งมักไม่ใช่ปิคในการเล่นจึงไม่มีปิคการ์ด แต่กีตาร์โฟล์คมักใช้ปิคเล่นจึงมีปิคการ์ดไว้ป้องกันปิคขูดกับ body กีตาร์
3.4 สะพานสาย (bridge) เป็นตัวที่ยึดสายให้ติดกับ body มักทำมาจากไม้โรสวูดหรือไม้อีโบนี ถ้าเป็นกีตาร์คลาสสิกจะเจาะรูในแนวขนานกับ body กีตาร์ 6 รูไว้ใช้พันสายกีตาร์ แต่ถ้าเป็นกีตาร์โฟล์คจะเจาะรูในแนวตั้งฉากกับ body และยึดสายด้วยหมุดยึดสาย(pin) แต่บางรุ่นเช่นของ Ovation ไม่ใช้หมุดแต่สอดสายจากด้านล่างของบริดจ์คล้าย ๆ กับกีตาร์คลาสสิกแต่ไม่ต้องพันสายเพราะสายโลหะจะมีหมุดล็อคอยู่ที่ปลายสาย สำหรับกีตาร์ไฟฟ้าจะทำจากโลหะเป็นส่วนใหญ่มีทั้งแบบธรรมดาคือมีหน้าที่ยึดสายอย่างเดียว และอีกแบบคือเป็นแบบคันโยกทั้งแบบเดิมและแบบใหม่ที่เรียกกันติดปากว่าฟรอยโรส การใส่สายจะยุ่งขึ้นมาอีกเล็กน้อย
3.5 หย่อง (saddle) จะฝังหรือยึดอยู่กับสะพานสาย เพื่อรองรับสายกีตาร์ทั้ง 6 สาย มีทั้งแบบตรงสำหรับกีตาร์คลาสสิก และแบบโค้งสำหรับกีตาร์โฟล์ค บางแบบก็แยกเป็น 2 ชิ้นแล้วแต่การออกแบบของแต่ละรุ่น บางรุ่นสามารถปรับความสูงของตัวมันได้ แต่ทั่ว ๆ ไปถ้าเรารู้สึกว่ามันสูงไปเราก็สามารถจะถอดมาแล้วใช้ตะไบหรือกระดาษทรายขัดที่ฐานของมันให้ความสูงลดลง แต่ถ้าต่ำไปก็หาเศษไม้หรือกระดาษมาเสริมให้สูงตามความพอใจ
3.6 ปิคอัฟ (pick up) โดยทั่วไปจะเห็นชัดบนกีตาร์ไฟฟ้ามากกว่าแต่ปัจจุบันกีตาร์โปร่งบางรุ่นก็มีการประกอบปิคอัฟไว้กับกีตาร์เลยเช่นประกอบไว้ที่ใต้บริดจ์หรือใต้หย่อง หรือเป็นปิคอัฟที่ซื้อมาประกอบต่างหากก็มี สำหรับกีตาร์ไฟฟ้าจะมีความสำคัญมากเพราะมันจะรับแรงสั่นสะเทือนของสายไปแปลงเป็นกระแสไฟฟ้าส่งไปยังแอมป์แล้วขยายเสียงต่อไปทำให้มนัสามารถปรับแต่งเสียงได้มากมายหลายรูปแบบแล้วแต่คุณต้องการรายละเอียดดูในอุปกรณ์เสริมสำหรับกีตาร์ได้ครับ
3.7 ชุดคันโยก (tremolo bar) ถือว่าเป็นสเน่ห์อย่างหนึ่งของกีตาร์ไฟฟ้าเลยทีเดียวแบบเก่าที่เห็นใน fender stratocaster รุ่นเก่า ๆ ซึ่งจะกดลงได้อย่างเดียว หรือคันโยกแบบ Bigsby ซึ่งมักพบในกีตาร์แบบ archtop หรือ semi acoustic electric ซึ่งใช้เล่นเพลงแจ๊ส หรือคันทรีเป็นต้นและปัจจุบันวงการกีตาร์ไฟฟ้าก็ได้พัฒนาไปอีกระดับกับคันโยกที่เราเรียกกันตามชื่อผู้ผลิตคือฟลอยโรสหรือคันโยกอิสระนั่นเองซึ่งสามารถโยกขึ้นลงได้อย่างอิสระช่วยให้นักกีตารืสามารถสร้างสรรค์สำเนียงดนตรีในแบบใหม่ ๆ ได้ไม่สิ้นสุด สำหรับคันโยกแบบนี้มักจะมีอุปกร์อีกตัวเพิ่มมาคือนัทแบบล็อคสายได้เพื่อช่วยป้องกันสายคลายตัวเมื่อใช้คันโยก
คันโยก Bigsby แบบต่าง ๆ
คันโยกแบบ Floyd Ros
3.8 สวิทช์เปลี่ยนปิคอัฟ มักมีในกีตาร์ไฟฟ้าที่มีปิคอัฟหลาย ๆ ตัว เช่น 2 หรือ 3 ตัว ใช้ในการเปลี่ยนไปใช้ปิคอัฟตัวต่าง ๆ ซึ่งเสียงก็จะต่างกันไปด้วยเช่นต้องการเล่น rythym อาจใช้ตัวกลางหรือตัวบนเมื่อจะ lead ก็เปลี่ยนมาใช้ตัวล่างที่ติดกับบริดจ์เพราะให้เสียงที่แหลมกว่าเป็นต้น
3.9 ปุ่มควบคุ่มเสียง โดยทั่วไปจะมี 2 ชุด คือชุดควบคุมความดังเบา(volume control) และชุดควบคุมเสียงทุ้มเสียงแหลม(tone control) บางทีสำหรับกีตาร์ไฟฟ้าบางรุ่นจะมีปุ่มควบคุมเสียงและ tone แยกของปิคอัฟแต่ละตัวเช่นกีตาร์ไฟฟ้าของ gibson (รุ่น SG หรือ Les Paul เป็นต้น) สำหรับกีตาร์โปร่งไฟฟ้ามักจะมีส่วนของ Equalizer เพิ่มเข้ามาด้วยสำหรับการปรับแต่งเสียงที่ละเอียดขึ้น และในกีตาร์รุ่นใหม่ ๆ เช่นของ Ovation จะมีระบบช่วยตั้งสายกีตารืรวมเข้าไปในส่วนคอนโทรลนี้ด้วย นับว่าเป็นเทคดนโลยีที่ดีช่วยนักกีตาร์ได้อย่างดีเลยครับ
3.10 ช่องเสียบสายแจ็คไปยังแอมป์ ใช้เสียบแจ็คเพื่อต่อสายไปยังแอมป์หรือผ่านเข้ายังชุดเอฟเฟ็คต่าง ๆ ของคุณ
3.11 ที่ใส่สายสะพายกีตาร์ ไว้ใส่สายสะพายกีตาร์เพื่อเวลาคุณยืนเล่น
ประเภทของกีตาร์
กีตาร์โปร่ง หรือ อาคูสติกกีตาร์ นั่นเอง ก็คือกีตาร์ที่มีลำตัวโปร่งไม่ต้องอาศัยไฟฟ้าในการเล่น ซึ่งสามารถที่จะพกพาไปเล่นได้ในทุก ๆ ที่ ไม่ต้องใช้อุปกรณ์อะไรให้วุ่นวาย
Arch top กีตาร์ เป็นกีตาร์อีประเภทหนึ่งบ้านเราอาจจะไม่ค่อยเห็นคนเล่นมากนักลักษณะทั่ว ๆ ไป จะคล้ายกับกีตาร์โฟล์ค แต่ด้านหน้าจะโค้ง(arch แปลว่าโค้ง) ซึ่งกีตาร์โฟล์คจะแบนราบ และโพรงเสียงจะไม่เป็นแบบช่องกลม แต่จะเป็นรูปตัว f (แค่คล้ายตัว f ที่เป็นตัวเขียนไม่ใช่ตัวพิมนะครับ) อยู่ 2 ช่องบนด้านหน้าของลำตัว ส่วนสะพานยึดสายด้านล่างมักเป็นแบบหางปลา (tail piece) ส่วนมากจะใช้เล่นในดนตรีแจ๊ส
Semi Acoustic กีตาร์ เป็นกีตาร์ที่มีลักษณะครึ่ง ๆ หรือลูกผสมระหว่างกีตาร์โปร่งกับกีตาร์ไฟฟ้า แต่ไม่ใช่กีตาร์ดปร่งไฟฟ้านะครับ กีตาร์โปร่งไฟฟ้าก็คือกีตาร์โปร่งที่ได้มีการประกอบเอา pick up (ที่เราเรียกกันว่าคอนแทคนั่นแหละครับ) ประกอบเข้าไปกับตัวกีตาร์โปร่งทำให้สามารถต่อสายจากกีตาร์เข้าเครื่องขยายได้โดยตรง ไม่ต้องเอาไมค์มาจ่อที่กีตาร์หรือไม่ต้องไปซื้อ pick up มาต่อต่างหาก แต่ Semi Acoustic กีตาร์จะมีลำตัวโปร่ง และแบนราบ แต่จะมี pick up ติดอยู่บนลำตัว และมักจะมีช่องเสียงเป็นรูปตัว f เช่นเดียวกับแบบ arch top ซึ่งทำให้กีตาร์ประเภทนี้มีคุณสมบัติของกีตาร์โปร่งคือเล่นแบบไม่ต่อเครื่องขยายก็ได้หรือจะต่อเครื่องขยายก็สามารถเล่นได้เช่นเดียวกับกีตาร์ไฟฟ้า ส่วนใหญ่กีตาร์ประเภทนี้มักจะพบว่าใช้ในดนตรีบลูส์ หรือดนตรีแจ๊สเป็นส่วนมาก
วันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2554
การตั้งสายกีตาร์
การตั้งสายกีต้าร์นั้นมีอยู่หลายวิธีแต่ส่วนมากแล้ววิธีที่นิยมใช้กันมากและง่ายคือการตั้งสายโดยการเทียบเสียงของแต่ละสาย การตั้งสายด้วยวิธีนี้จะต้องมีทักษะการฟังเสียงที่ดีในระดับหนึ่งเพื่อที่จะฟังออกว่าเสียงนั้นตรงตามโน้ตหรือยัง สำหรับคนที่เริ่มเล่นในตอนแรกอาจจะยังฟังแล้วแยกเสียงไม่ออก ก็แนะนำใช้เครื่องตั้งสายมาช่วยตั้งไปก่อน และก็พยายามหัดตั้งสายด้วยตนเอง การตั้งสายนั้นถือเป็นทักษะพื้นฐานส่วนหนึ่งที่คนหัดเล่นกีต้าร์ควรจะรู้เป็นอย่างแรก
การตั้งสายแบบมาตรฐาน ( Standard E ) ที่ชื่อ Standard E เพราะว่าโน้ตของสายแรกเป็นโน้ต E ส่วนโน้ตของสายอื่นจะเป็นดังรูปด้านบนโดยจะเริ่มตั้งจากสาย 1 จนถึงสายที่ 6 ( ตัวอักษรสีเหลื่องในรูปด้านบนคือโน้ตในตำแหน่งที่กด )
การตั้งเสียงของสาย 1 โดยปรับสายจนได้เสียงโน๊ต E ( ถ้าสามารถฟังเสียงของโน๊ตออก ) แต่ถ้ายังฟังเสียงโน้ตไม่ออกก็ไม่เป็นไร ก็ให้ปรับสายให้ตึงพอประมาณไม่ตึงหรือหย่อนจนเกินไป ( สำหรับคนที่เริ่มหัดเล่นไม่ต้องกังวลเรื่องโน้ตจะตรงหรือไม่ ถ้าเราเล่นหรือซ้อมคนเดียว แต่ถ้าเล่นเป็นวงแล้วส่วนมากก็จะใช้เครื่องตั้งสาย เพื่อความถูกต้องของเสียง และ ทั้งวงจะได้เล่นอยู่ในคีย์เดียวกัน )
การตั้งเสียงของสาย 2 โดยการกดที่ สาย 2 ช่อง 5 เทียบเสียงกับสายเปล่าสาย 1แล้วดีดทั้ง 2 เส้นเทียบกันถ้าระดับเสียงต่ำกว่า สาย 1 ก็ปรับให้สายตึงขึ้น ถ้าระดับเสียงสูงกว่าก็คลายสายให้หย่อนลงจนได้ระดับเสียงเดียวกัน
การตั้งเสียงของสาย 3 โดยการกดที่ สาย 3 ช่อง 4 เทียบเสียงกับสายเปล่าสาย 2 แล้วดีดทั้ง 2 เส้นเทียบกันถ้าระดับเสียงต่ำกว่า สาย 2 ก็ปรับให้สายตึงขึ้น ถ้าระดับเสียงสูงกว่าก็คลายสายให้หย่อนลงจนได้ระดับเสียงเดียวกัน
การตั้งเสียงของสาย 4 โดยการกดที่ สาย 4 ช่อง 5 เทียบเสียงกับสายเปล่าสาย 3 แล้วดีดทั้ง 2 เส้นเทียบกันถ้าระดับเสียงต่ำกว่า สาย 3 ก็ปรับให้สายตึงขึ้น ถ้าระดับเสียงสูงกว่าก็คลายสายให้หย่อนลงจนได้ระดับเสียงเดียวกัน
การตั้งเสียงของสาย 5 โดยการกดที่ สาย 5 ช่อง 5 เทียบเสียงกับสายเปล่าสาย 4 แล้วดีดทั้ง 2 เส้นเทียบกันถ้าระดับเสียงต่ำกว่า สาย 4 ก็ปรับให้สายตึงขึ้น ถ้าระดับเสียงสูงกว่าก็คลายสายให้หย่อนลงจนได้ระดับเสียงเดียวกัน
การตั้งเสียงของสาย 6 โดยการกดที่ สาย 6 ช่อง 5 เทียบเสียงกับสายเปล่าสาย 5 แล้วดีดทั้ง 2 เส้นเทียบกันถ้าระดับเสียงต่ำกว่า สาย 5 ก็ปรับให้สายตึงขึ้น ถ้าระดับเสียงสูงกว่าก็คลายสายให้หย่อนลงจนได้ระดับเสียงเดียวกัน
การตั้งสายแบบมาตรฐาน ( Standard E ) ที่ชื่อ Standard E เพราะว่าโน้ตของสายแรกเป็นโน้ต E ส่วนโน้ตของสายอื่นจะเป็นดังรูปด้านบนโดยจะเริ่มตั้งจากสาย 1 จนถึงสายที่ 6 ( ตัวอักษรสีเหลื่องในรูปด้านบนคือโน้ตในตำแหน่งที่กด )
การตั้งเสียงของสาย 1 โดยปรับสายจนได้เสียงโน๊ต E ( ถ้าสามารถฟังเสียงของโน๊ตออก ) แต่ถ้ายังฟังเสียงโน้ตไม่ออกก็ไม่เป็นไร ก็ให้ปรับสายให้ตึงพอประมาณไม่ตึงหรือหย่อนจนเกินไป ( สำหรับคนที่เริ่มหัดเล่นไม่ต้องกังวลเรื่องโน้ตจะตรงหรือไม่ ถ้าเราเล่นหรือซ้อมคนเดียว แต่ถ้าเล่นเป็นวงแล้วส่วนมากก็จะใช้เครื่องตั้งสาย เพื่อความถูกต้องของเสียง และ ทั้งวงจะได้เล่นอยู่ในคีย์เดียวกัน )
การตั้งเสียงของสาย 2 โดยการกดที่ สาย 2 ช่อง 5 เทียบเสียงกับสายเปล่าสาย 1แล้วดีดทั้ง 2 เส้นเทียบกันถ้าระดับเสียงต่ำกว่า สาย 1 ก็ปรับให้สายตึงขึ้น ถ้าระดับเสียงสูงกว่าก็คลายสายให้หย่อนลงจนได้ระดับเสียงเดียวกัน
การตั้งเสียงของสาย 3 โดยการกดที่ สาย 3 ช่อง 4 เทียบเสียงกับสายเปล่าสาย 2 แล้วดีดทั้ง 2 เส้นเทียบกันถ้าระดับเสียงต่ำกว่า สาย 2 ก็ปรับให้สายตึงขึ้น ถ้าระดับเสียงสูงกว่าก็คลายสายให้หย่อนลงจนได้ระดับเสียงเดียวกัน
การตั้งเสียงของสาย 4 โดยการกดที่ สาย 4 ช่อง 5 เทียบเสียงกับสายเปล่าสาย 3 แล้วดีดทั้ง 2 เส้นเทียบกันถ้าระดับเสียงต่ำกว่า สาย 3 ก็ปรับให้สายตึงขึ้น ถ้าระดับเสียงสูงกว่าก็คลายสายให้หย่อนลงจนได้ระดับเสียงเดียวกัน
การตั้งเสียงของสาย 5 โดยการกดที่ สาย 5 ช่อง 5 เทียบเสียงกับสายเปล่าสาย 4 แล้วดีดทั้ง 2 เส้นเทียบกันถ้าระดับเสียงต่ำกว่า สาย 4 ก็ปรับให้สายตึงขึ้น ถ้าระดับเสียงสูงกว่าก็คลายสายให้หย่อนลงจนได้ระดับเสียงเดียวกัน
การตั้งเสียงของสาย 6 โดยการกดที่ สาย 6 ช่อง 5 เทียบเสียงกับสายเปล่าสาย 5 แล้วดีดทั้ง 2 เส้นเทียบกันถ้าระดับเสียงต่ำกว่า สาย 5 ก็ปรับให้สายตึงขึ้น ถ้าระดับเสียงสูงกว่าก็คลายสายให้หย่อนลงจนได้ระดับเสียงเดียวกัน
วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2554
ประวัติความเป็นมาของกีตาร์
กีตาร์ถือเป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่งของมนุษย์เพียงแต่ชื่อเรียกและรูปร่างย่อมแตกต่างกันไปตามแต่ละยุคสมัย ซึ่งเริ่มเป็นที่นิยมในแถบเปอร์เซียและตะวันออกกลางหลายประเทศต่อมาได้เผยแพร่ไปยังกรุงโรมโดยชาวโรมันหรือชาวมัวร์ จากนั้นก็เริ่มได้รับความนิยมในสเปน ในยุโรปกีตาร์มักเป็นที่นิยมในหมู่ชนชั้นสูง และมีเชื้อพระวงศ์หลายพระองค์ที่ให้ความสนใจและศึกษาอย่างเช่น Queen Elizabeth I ซึ่งโปรดกับ Lute lซึ่งถือว่าเป็นต้นแบบของกีตาร์ก็ว่าได้ แต่การพัฒนาที่แท้จริงนั้นได้เกิดจากการที่นักดนตรีได้นำมันไปแสดงหรือเล่นร่วมกับวงดนตรีของประชาชนทั่ว ๆ ไปทำให้มีการเผยแพร่ไปยังระดับประชาชนจนได้มีการนำไปผสมผสานเข้ากับเพลงพื้นบ้านทั่ว ๆ ไปและเกิดแนวดนตรีในแบบต่าง ๆ มาขึ้น
วันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2554
คอร์ดเพลง เธอยัง.....
Bsus2 G#m7
ฉันยังเป็นคนที่รักเธอหมดใจ ฉันยังได้แต่คิดถึงเธอเรื่อยไป
Emaj7 D#m7 C#m7 F#
ฉันยังดูรูปถ่าย ที่เราชิดใกล้ อยู่ทุกวัน
Bsus2 G#m7
ฉันยังรอคอยให้เธอนั้นกลับมา ฉันยังกาปฏิทินทุกคืนวัน
Emaj7 D#m7 C#m7 F#
เพราะคำเดียวระยะทาง ที่มาขวางกั้น เราไว้
D#m7 G#m7 G#7sus4 G#7
* ได้แต่คิดแล้วก็สงสัย อยู่ตรงนั้นเธอเป็นอย่างไรก็ไม่รู้
C#m7 D#m7 C#m7 F#
ฝากเพลงนี้ให้ไปถามเธอดู อยากจะรู้ในความเป็นไป
Bsus2 G#m7
เธอยังคิดถึงฉันทุกนาทีรึเปล่า เธอยังจำเรื่องเราในวันวานได้หรือไม่
Emaj7 D#m7
เธอยังมีใจให้ฉันคนเดียว ยังรอฉันแค่คนเดียว
C#m7 F# Bsus2
เธอยังคงเป็นเหมือนเดิมอยู่ใช่ไหม ช่วยบอกให้รู้ที
Bsus2 G#m7
ฉันกลัวใครทำให้เธอนั้นเปลี่ยนไป ฉันกลัวสิ่งที่ไม่แน่นอนมากมาย
Emaj7 D#m7 C#m7 F#
ฉันกลัวคำว่าเสียใจ เธอรอฉันได้ ใช่ไหม
(ซ้ำ *)
Bsus2 G#m7
** เธอยังคิดถึงฉันทุกนาทีรึเปล่า เธอยังจำเรื่องเราในวันวานได้หรือไม่
Emaj7 D#m7
เธอยังมีใจให้ฉันคนเดียว ยังรอฉันแค่คนเดียว
C#m7 F#
เธอยังคงเป็นเหมือนเดิมอยู่ใช่ไหม
Bsus2 G#m7
เธอยังคิดถึงฉันทุกเวลาอยู่รึเปล่า เธอยังดูรูปเราใบเดิมเดิมอยู่หรือไม่
Emaj7 D#m7
เธอยังมีใจให้ฉันคนเดียว ยังรอฉันแค่คนเดียว
C#m7 F# ( Bsus2 )
เธอยังรักกันเหมือนเดิมอยู่ใช่ไหม ช่วยบอกให้รู้ทีSOLO : /Bsus2/Bsus2/G#m7/G#m7/Emaj7/D#m7/C#m7/F#/
(ซ้ำ * ,**)
ฉันยังเป็นคนที่รักเธอหมดใจ ฉันยังได้แต่คิดถึงเธอเรื่อยไป
Emaj7 D#m7 C#m7 F#
ฉันยังดูรูปถ่าย ที่เราชิดใกล้ อยู่ทุกวัน
Bsus2 G#m7
ฉันยังรอคอยให้เธอนั้นกลับมา ฉันยังกาปฏิทินทุกคืนวัน
Emaj7 D#m7 C#m7 F#
เพราะคำเดียวระยะทาง ที่มาขวางกั้น เราไว้
D#m7 G#m7 G#7sus4 G#7
* ได้แต่คิดแล้วก็สงสัย อยู่ตรงนั้นเธอเป็นอย่างไรก็ไม่รู้
C#m7 D#m7 C#m7 F#
ฝากเพลงนี้ให้ไปถามเธอดู อยากจะรู้ในความเป็นไป
Bsus2 G#m7
เธอยังคิดถึงฉันทุกนาทีรึเปล่า เธอยังจำเรื่องเราในวันวานได้หรือไม่
Emaj7 D#m7
เธอยังมีใจให้ฉันคนเดียว ยังรอฉันแค่คนเดียว
C#m7 F# Bsus2
เธอยังคงเป็นเหมือนเดิมอยู่ใช่ไหม ช่วยบอกให้รู้ที
Bsus2 G#m7
ฉันกลัวใครทำให้เธอนั้นเปลี่ยนไป ฉันกลัวสิ่งที่ไม่แน่นอนมากมาย
Emaj7 D#m7 C#m7 F#
ฉันกลัวคำว่าเสียใจ เธอรอฉันได้ ใช่ไหม
(ซ้ำ *)
Bsus2 G#m7
** เธอยังคิดถึงฉันทุกนาทีรึเปล่า เธอยังจำเรื่องเราในวันวานได้หรือไม่
Emaj7 D#m7
เธอยังมีใจให้ฉันคนเดียว ยังรอฉันแค่คนเดียว
C#m7 F#
เธอยังคงเป็นเหมือนเดิมอยู่ใช่ไหม
Bsus2 G#m7
เธอยังคิดถึงฉันทุกเวลาอยู่รึเปล่า เธอยังดูรูปเราใบเดิมเดิมอยู่หรือไม่
Emaj7 D#m7
เธอยังมีใจให้ฉันคนเดียว ยังรอฉันแค่คนเดียว
C#m7 F# ( Bsus2 )
เธอยังรักกันเหมือนเดิมอยู่ใช่ไหม ช่วยบอกให้รู้ทีSOLO : /Bsus2/Bsus2/G#m7/G#m7/Emaj7/D#m7/C#m7/F#/
(ซ้ำ * ,**)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)