http://www.kku.ac.th/

วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2554

การอ่านโน๊ตไวโอลิน

                                           Violin Scales



          ภาพแรกนี้เหมาะสำหรับคนเริ่มเรียนไวโอลินแบบไปรเวท ที่ยังอ่านโน๊ตไม่ได้                      

คนที่เรียนชั่วโมงแรก ๆ อาจยังไม่เข้าใจว่าจะจับต้นชนปลายยังไงดีภาพ
นี้คงช่วยได้ พอสมควร เพราะทำให้ชัดเจนขึ้นว่าก่อนอื่นต้องจำโน๊ตที่มีชื่อ
เรียกแตกต่างกันสอง ชุดให้ได้คล่อง ต้องจำชื่อตัวโน๊ตเมื่ออยู่บนบรรทัดห้าเส้น
ให้ได้คล่องด้วย และตาม ภาพก็จะมีการเทียบเสียงที่อยู่บนสายให้ดูด้วย      
 ถ้าสามารถจำตัวโน๊ตตามภาพนี้ คล่องแคล่วรับรองได้ว่า ไปได้สวยแน่นอน
ทั้งเด็กและผู้ใหญ่                                                        



                   

การดูแลรักษาไวโอลิน

ไม้กับความชื้น (Wood and Water)
Violin peg strings.jpg
ไม้ไม่สามารถรักษาสภาพของตัวเองได้ดีนักเมื่อถูกความชื้น แม้ว่าไม้จะคงรูปได้ดีขึ้นหลังจากที่ผ่านกระบวนการอบเป็นอย่างดีก็ตาม แต่ไม้ยังคงพองหรือบวมเมื่อถูกความชื้น และหดตัวเมื่ออากาศแห้ง ไม้ที่ใช้ทำชิ้นส่วนบางอย่างของไวโอลินจะคงรูปดีกว่าไม้ที่ใช้ทำเครื่องดนตรีอื่นๆ นอกจากนั้น ไม้ทุกชนิดจะหดตัวในแนวขวางของลายไม้มากกว่าการหดตัวตามยาว
ในช่วงเดือนที่มีความชื้นสูงๆ ไม้แผ่นหน้ามักจะเกิดการขยายตัวมากกว่าอาการคอไวโอลินตก ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้สายไวโอลินเหนือสะพานวางนิ้วลอยสูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงของความชื้นในอากาศอาจเป็นสาเหตุให้การเล่นและการตอบสนองของเสียงเกิดการแกว่งตัว และอาจทำให้เกิดปัญหาที่หนักกว่านั้นคือ ไม้เกิดการปริแตกเมื่อสูญเสียความชื้นอย่างรวดเร็วกว่าที่มันดูดซึมเอาไว้ได้

การบิดตัวของไม้ (Distortion)

ธรรมชาติของไม้มีความยืดหยุ่นในตัวเอง อาจจะค่อยๆ เปลี่ยนรูปร่างไปตามแรงที่มากระทำ ช่างทำไวโอลินอาศัยข้อดีอันนี้ในการขึ้นรูปแผ่นไม้ด้านข้าง (Rib) หรือการดัดไม้
แต่หย่องที่งอ ไม้แผ่นหลังที่ยุบ และคอไวโอลินที่ตก เป็นผลมาจากแรงกดอย่างต่อเนื่อง เมื่อไม้เริ่มบิดตัว มันจะสูญเสียความแข็งแรงจากรูปทรงเดิมอย่างรวดเร็ว และอาจทำให้เกิดความเสียหายหนักตามมา

อุณหภูมิ (Temperature)

การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิเป็นสาเหตุที่ทำให้ไม้เกิดการขยายตัวและหดตัวเช่นเดียวกับวัตถุอื่นๆ ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาของอุณหภูมิและ ความชื้นในไม้ ควรจะใช้กล่องไวโอลินแบบสูญญากาศอย่างดี และอย่าวางไว้ไกล้รังสีความร้อนหรือวางถูกแสงแดดโดยตรง กล่องไวโอลินเกือบทุกชนิดที่บุด้วยวัสดุผิวด้านสีเข้มจะมีผลต่อการดูดซับแสงให้แปรเปลี่ยนเป็นความร้อนได้มากกว่า

การเดินทาง (Travel) ขนส่ง (Shipping) การถือ (Carrying an instrument)

ถ้าเดินทางโดยรถยนต์ อย่าวางเครื่องดนตรีไว้ในกระโปรงท้ายรถ เพราะเครื่องดนตรีจะได้รับความร้อนมาก ทำให้ได้รับความเสียหาย
เมื่อต้องส่งเครื่องดนตรีไปทางพัสดุภัณฑ์ ให้คลายสายออกเล็กน้อยและใช้วัสดุนุ่มๆ บุที่หย่องทั้ง 2 ด้านเสียก่อน ควรเก็บเครื่องดนตรีไว้ในกล่องของมันเองเพื่อความปลอดภัย หลังจากนั้นให้ห่อในกล่องสำหรับส่งของ บุรอบๆ กล่องด้วยวัสดุสำหรับห่อกล่อง
ถ้าหกล้มในขณะถือเครื่องดนตรี โดยสัญชาติญาณของคนส่วนใหญ่จะกอดกล่องไวโอลินไว้ข้างหน้า เพราะคิดว่าจะช่วยป้องกันไม่ให้เครื่องดนตรีแตกหักได้ แต่น่าเสียดายว่ากลับทำให้เครื่องดนตรีพังมา ควรใช้กล่องที่แข็งแรงซึ่งจะยึดไวโอลินให้ลอยอยู่ในกล่องเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการล้มคว่ำหงาย และพยายามหัดถือกล่องด้วยมือที่ไม่ถนัดให้เคยชิน เช่น ถือด้วยมือซ้ายถ้าคุณเป็นคนถนัดขวา ซึ่งจะทำให้เหลือมือข้างที่ถนัดไว้ป้องกันตนเองได้

วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2554

โครงสร้างไวโอลิน

โครงสร้างของไวโอลิน เรียงจากบนไปล่าง
  • หัวไวโอลิน (Scroll)
  • โพรงลูกบิด (Pegbox)
  • คอ (Neck)
  • สะพานวางนิ้ว หรือ ฟิงเกอร์บอร์ด (Fingerboard)
  • (Upper Bout)
  • เอว (Waist)
  • ช่องเสียง (F-holes)
  • หย่อง (Bridge)
  • (Lower Bout)
  • ตัวปรับเสียง (Fine Tuners)
  • หางปลา (Tailpiece)
  • ที่รองคาง (Chinrest)
ขนาดมาตรฐานของไวโอลินคือ ยาว 23.5 นิ้ว และ คันชักยาว 29 นิ้ว

สกุลช่างที่ทำไวโอลิน

สกุลช่างทำไวโอลินสามารถแบ่งออกได้ดังนี้ได้ดังนี้
  1. สกุลช่างเบรสเชีย (Brescian School: พ.ศ. 2063 - พ.ศ. 2163) สร้างสรรค์งานตามแนวทางที่ได้วางรากฐานไว้โดย Gaspard Duiffopruggar
  2. สกุลช่างเครโมนา (Cremona School: พ.ศ. 2093 - พ.ศ. 2309) ถือเป็นสกุลช่างทำไวโอลินที่สำคัญที่สุด ผลงานของสกุลช่างเครโมนาเกิดจากการสร้างสรรค์ของช่างในตระกูล Amati, Stradivari, Guarneri, Bergonzi, Guadagnini ฯลฯ
  3. สกุลช่างเนเปิ้ลส์ (Neopolitan School: พ.ศ. 2223 - พ.ศ. 2343) สกุลช่างนี้จะถ่ายทอดผ่านทางช่างฝีมือทำไวโอลินชาวมิลานและเนเปิลส์ ประเทศอิตาลี ตระกูลช่างทำไวโอลินที่สำคัญได้แก่ตระกูล Grancino, Testore, Gagliano, Landofi ฯลฯ
  4. สกุลช่างฟลอเรนซ์ (Florentine School: พ.ศ. 2223 - พ.ศ. 2303) สกุลช่างนี้ฟลอเรนซ์จะรวมถึงช่างฝีมือทำไวโอลินชาวโรม และโบโลญญ่าด้วย ผ่านทางฝีมือของช่างทำไวโอลิน Gabrielli, Anselemo, Florentus, Techler และ Tononi
  5. สกุลช่างเวนิส (Venetian School: พ.ศ. 2233 - พ.ศ. 2307) สกุลช่างเวนิสนี้ได้เกิดขึ้นที่เมืองเวนิส โดยผ่านทางช่าง ได้แก่ Domenico Montagnana และ Sanctus Seraphin งานช่างสกุลนี้มีความใกล้เคียงกับงานของสกุลช่างโครโมนา
  6. สกุลช่างไทโรล (Tyrolese School: พ.ศ. 2183 - พ.ศ. 2239)
ผลงานสกุลช่างไทโรลนี้ได้ถ่ายทอดผ่านทางฝีมือของ Jakob Stainer และช่างในตระกูล Klotz และ Albani ฯลฯ

ประวัติไวโอลีน

ไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดไวโอลินได้ปรากฏขึ้นเมื่อช่วงเวลาใด แต่คาดว่าปรากฏขึ้นครั้งแรกในประเทศอิตาลีช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 ซึ่งเชื่อกันว่าผู้ผลิตนั้นดัดแปลงมาจากเครื่องดนตรียุคกลาง 3 ชนิด อันได้แก่ เรเบค (rebec) ซอเรอเนซองซ์ (the Renaissance fiddle) และ ลีรา ดา บราชโช (lira da braccio) ซึ่งเครื่องดนตรีทั้ง 3 ชนิดนี้มีลักษณะใกล้เคียงกับไวโอลิน แต่หลักฐานที่แน่นอนที่สุดก็คือ มีหนังสือที่ตีพิมพ์เกี่ยวกับไวโอลินในปี พ.ศ. 2099 (ค.ศ. 1556) แล้ว โดยได้ตีพิมพ์ที่เมืองลียง ประเทศฝรั่งเศส และคาดว่าช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่ไวโอลินน่าจะเผยแพร่ไปทั่วทวีปยุโรปแล้ว
ไวโอลินที่ถือว่าเป็นคันแรกของโลกถูกสร้างขึ้นโดย อันเดร์ อมาตี (Andrea Amati) ในช่วงครึ่งศตวรรษแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยการว่าจ้างของครอบครัวเมดิซี ซึ่งต้องการเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย ต่อมาด้วยคุณภาพที่ดีของเครื่องดนตรี พระเจ้าชาลส์ที่ 4 แห่งฝรั่งเศส จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ อันเดร์ ประดิษฐ์ไวโอลินขึ้นมาอีก เพื่อมาเป็นเครื่องดนตรีบรรเลงประเภทใหม่ของวงออร์เคสตราประจำของพระองค์ และไวโอลินที่เก่าแก่สุดและยังให้เห็นอยู่ คือไวโอลินที่ อันเดร์ ประดิษฐ์ขึ้นในเมืองเครโมนา (Cremona) ประเทศอิตาลี ซึ่งได้ถวายแด่ พระเจ้าชาลส์ที่ 4 เช่นกันตรงกับปี พ.ศ. 2109 (ค.ศ. 1566)
แต่ไวโอลินที่น่าจะเก่าแก่และโด่งดังที่สุดน่าจะเป็นไวโอลินที่มีชื่อว่า เลอ เมสซี่ (Le Messie) หรือ Salabue ประดิษฐ์โดย อันโตนิโอ สตราดีวารี เมื่อปี พ.ศ. 2259 (ค.ศ. 1716) ซึ่งปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่ Ashmolean Museum แห่ง อ๊อกซฟอร์ด

ไวโอลิน







ไวโอลิน เป็นเครื่องดนตรีที่ทำให้เกิดเสียงระดับเสียงสูงในกลุ่มเครื่องดนตรีคลาสสิกประเภทเครื่องสาย (String instruments) ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากโลกตะวันตก เป็นเครื่องดนตรีตระกูลไวโอลินที่เล็กที่สุด อันประกอบไปด้วย ไวโอลิน วิโอลา เชลโล และ ดับเบิลเบส เมื่อนำทั้งหมดมาเล่นร่วมกันแล้วจะเรียกว่า วงเครื่องสาย(string) ซึ่งเป็นตระกูลเครื่องดนตรีหลักของ วงออร์เคสตรา

วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2554

ส่วนประกอบของกีตาร์

 1. ส่วนหัว ประกอบด้วย
          1.1 ชุดลูกบิด โดยทั่วไปที่เราพบเห็นก็จะมี 2 แบบ ได้แก่แบบที่ตัวลูกบิดหันไปด้านหลังตั้งฉากกับตัวกีตาร์แกนหมุนสายเป็นพลาสติกซึ่งจะใช้กับกีตาร์คลาสสิก หรือกีตาร์ฝึก(แต่จะเป็นแบบที่แกนหมุนสายเป็นเหล็กใช้กับกีตาร์ราคาไม่สูงนัก) และอีกแบบจะขนานกับตัวกีตาร์หรือแกนหมุนสายตั้งฉากกับตัวกีตาร์ซึ่งใช้กับกีตาร์โฟล์คหรือกีตาร์ไฟฟ้าทั่ว ๆ ไปที่เราเห็นนั่นเอง แต่ละบริษัทที่ผลิตลูกบิดกีตาร์นั้นจะมีระบบเป็นของตัวเองเช่นระบบล็อคกันสายคลายเวลาดีด อะไรเหล่านี้เป็นต้น

          1.2 นัท (nut) บางคนอาจเรียกว่าหย่องหรือสะพานสายบน แต่ผมจะเรียกว่านัทจะดีกว่านะครับ มันจะติดอยู่ปลายบนสุดของฟิงเกอร์บอร์ดเพื่อรองรับสายกีตาร์ให้ยกสูงจากฟิงเกอร์บอร์ด ซึ่งระยะความสูงของสายกับฟิงเกอร์บอร์ดดังกล่าวนี้เรียกว่า action มีความสำคัญมากเพราะถ้ามันตั้งความสูงไว้ไม่เหมาะสมแล้วจะทำให้การเล่นกีตาร์ลำบากมากคือถ้าระยะดังกล่าวสูงไปคุณต้องออกแรงกดสายมากขึ้นก็จะเจ็บนิ้วมากขึ้น แต่ถ้ามันตั้งไว้ต่ำไปก็จะทำให้เวลาดีดความสั่นของสายจะไปโดนเฟร็ตทำให้เกิดเสียงแปลก ๆ ออกมา
         การปรับแต่งนั้นคุณสามารถที่จะทำได้ด้วยตัวเองโดยการถอดมันออกมาและใช้ตะไบถูกับฐานของมันหรือเซาะร่องทั้ง 6 ให้ลึกลงไป(วิธีหลังผมไม่แนะนำเท่าไรเพราะถ้าคุณเซาะร่องไม่ดีจะมีผลกับเสียงกีตาร์ของคุณ)กรณีที่สูงเกินไป ตรงกันข้ามถ้าต่ำไปก็หาเศษกระดาษหนา ๆ หรือเศษไม้มารองได้นัทจนได้ความสูงที่คุณพอใจ โดยปกติประมาณ 2 มม. สำหรับกีตาร์ไฟฟ้าบางรุ่น(โดยเฉพาะที่มีชุดคันโยก)มักจะมีนัทแบบที่ล็อคสายกีตาร์ได้คือจะมี 6 เหลี่ยมขันอัดให้โลหะชิ้นเล็ก ๆ ไปกดสายกีตาร์เพื่อกันสายคลายเมื่อเล่นคันโยก


     กรณีที่คุณต้องเปลี่ยนนัทเช่นมีการแตกหัก คุณจะต้องเช็คขนาดของนัทของคุณให้ดีก่อนไปซื้อเพราะนัทมีขายหลายขนาดผมเคยแล้วไปซื้อมากลายเป็นคนละขนาดต้องไปเปลี่ยนอีก แต่ถ้าเป็นกีตาร์ระดับราคาไม่สูงนักคิดว่าคงไม่มีปัญหา


2. ส่วนคอกีตาร์ ประกอบด้วย
  
    
       
          2.1 คอกีตาร์ คือส่วนที่เราใช้จับคอร์ดเล่นโน๊ตต่าง ๆ มีความสำคัญมากสำหรับกีตาร์ก่อนซื้อคุณจะต้องดูให้ดีดังที่แนะนำในหัวข้อการเลือกซื้อกีตาร์ คอกีตาร์ควรจะทำมาจากไม้ มะฮอกกานี หรือไม้ ซีดา หลัการที่สำคํญที่สุดคือคอกีตาร์ต้องตรง ไม่มีรอยแตกหรือปริของเนื้อไม้


         2.2 fingerbord เป็นแผ่นไม้ที่ติดลงบนคอกีตาร์อีกชั้น เป็นตัวที่ใช้ยึดเฟร็ต หรือลวดลายมุกประดับต่าง ๆ และเราก็จะเล่นโน๊ตต่าง ๆ ของกีตาร์บนหน้าฟิงเกอร์บอร์ดนั่นเอง ไม้ที่นิยมใช้จะเป็นไม้ โรสวูด หรือไม้ อีโบนี ซึ่งมีเนื้อไม่แข็งเกินไป มีแแบที่แบนเรียบของกีตาร์คลาสสิก และกีตาร์โฟล์กับกีตาร์ไฟฟ้าส่วนใหญ่จะโค้งเล็กน้อยเพื่อให้เข้ากับนิ้วเวลาทาบบนคอ


          2.3 เฟร็ต (fret) ทำมาจากโลหะฝังอยู่บนคอกีตาร์เป็นตัวที่จะกำหนดเสียงของโน็ตดนตรีจากการกดสายกีตาร์ลงบนเฟร็ตต่าง ๆ ซึ่งทำให้สายมีความสั้นยาวต่างกันไปตามการกดสายของเราว่ากดที่ช่องใดระยะสายที่เปลี่ยนไปก็คือระดดับเสียงที่เปลี่ยนไปด้วย สิ่งหนึ่งที่ควรคำนึงถึงคือระยะระหว่างเฟร็ตแต่ละตัวต้องได้มาตรฐาน มิฉะนั้นจะทำให้เสียงเพี้ยนได้แต่เราไม่สามารถเช็คระยะดังกล่าวได้เราอาจเช็คคร่าว ๆ จากฮาโมนิคซึ่งผมได้กล่าวแล้วในเรื่องการเลือกซื้อกีตาร์ลองไปอ่านดูก็ได้ครับ จำนวนของเฟร็ตก็จะขึ้นกับความยาวของคอกีตาร์ซึ่งแต่ละผู้ผลิตก็จะต่างกันไป ปกติกีตาร์คลาสสิกจะมีประมาณ 18 ตัว กีตาร์โฟล์คประมาณ 20 ตัว แต่กีตาร์ไฟฟ้าซึ่งมักจะมีการเล่นโซโลจึงมีช่องให้เล่นโน๊ตมากขึ้นประมาณ 22-24 ตัว และกีตาร์คลาสสิกซึ่งคอกีตาร์แบนราบ เฟร็ตก็จะตรง แต่กีตาร์โฟล์คหรือกีตาร์ไฟฟ้านั้นส่วนใหญ่จะมีคอที่โค้งเล็กน้อยก็จะมีเฟร็ตที่โค้งตามไปด้วย


          2.4 มุกประดับ จุดประสงค์คือให้ใช้สังเกตตำแหน่งช่องกีตาร์ปกติจะฝังที่ช่อง (1),3,5,7,9,(10),12,14,17,19,21(ไม่แน่นอนตายตัวขึ้นกับผู้ผลิต) กีตาร์คลาสสิกจะไม่มีมุกประดับฝังบนหน้าฟิงเกอร์บอร์ดแต่จะฝังด้านข้างแทน แต่กีตาร์โฟล์คและกีตาร์ไฟฟ้าจะฝังไว้ทั้ง 2 ส่วน(บางรุ่นก็มีแต่ด้านข้าง) ทั้งนี้ขึ้นกับแต่ละผู้ผลิตจะออกแบบ โดยทั่วไปจะเป็นรูปวงกลม บาทีก็รูปข้าวหลามตัด หรือที่แพงหน่อยก็จะเป็นลายพวกไม้เลื้อย เลื้อยไปตามหน้าฟิงเกอร์บอร์ด


          2.5 ก้านเหล็กปรับแต่งคอ (Truss Rod) ในกีตาร์ที่อยู่ในระดับกลางขึ้นไปจะมีแท่งเหล็กฝังอยู่ตามความยาวคอกีตาร์ด้วยเพื่อเสริมความแข็งแรงให้กับกีตาร์ป้องกันการโก่งตัวของคอกีตาร์ ซึ่งสามารถปรับแต่งได้เมื่อคอกีตาร์เกิดโก่งงอไปแต่การปรับแต่งนั้นถ้าคุณไม่แน่ใจอย่าเสี่ยงนะครับเพราะถ้าคุณฝืนมันมากไปอาจทำให้คอกีตาร์เสียหายก็ได้ให้ผู้ที่เขาชำนาญทำดีกว่าครับ





3. ส่วนลำตัวกีตาร์ ประกอบด้วย





         3.1 ลำตัวกีตาร์ (body) หมายถึง 3 ส่วนได้แก่ ด้านหน้า(top) ควรทำมาจากไม้ อัลพาย สปรูซ (alpine spruce) ด้านหลัง (back) และด้านข้าง (side) ควรเป็นไม้โรสวูด(rosewood) และที่สำคัญคือลักษณะของไม้ต้องไม่มีรอยแตก ไม่มีตาไม้และมีลายไม้ที่ละเอียดไปตามความยาวจึงมีคุณภาพดี ส่วนที่เว้าของ body บางทีเราก็เรียกว่าเอว



การยึดโครงไม้ด้านใน(internal bracing) มีความสำคัญมากอีกเช่นกันเพราะไม้ที่ทำ body กีตาร์นั้นบางแต่ต้องรับแรงดึงที่สูงมาก ถ้าโครงยึดดังกล่าวไม่ดีหมายถึงกีตาร์คุณก็จะพังในเร็ววันแน่นอน รูปแบบการยึดจะแตกต่างกันตามเคล็ดลับของแต่ละผู้ผลิตและกีตาร์แต่ละรุ่นแต่ละประเภท โดยทั่วไปลักษณะเป็นรูปพัด (ในรูปเป็นตัวอย่างโครงยึดด้านในของกีตาร์คลาสสิก)ไม่รวมถึงกีตาร์ไฟฟ้าซึ่งเป็นทรงตัน หรือ solid body


         3.2 โพรงเสียง (sound hole) ก็คือรูกลม ๆ หรือบางทีก็ไม่กลม ที่อยู่บนด้านหน้าของ body นั่นเอง มีหน้าที่รับเสียงจากการสั่นของสายกีตาร์ทำให้เกิดเสียงก้องดังขึ้น ซึ่งอาจจะมีลายประดับต่าง ๆ อยู่รอบๆ โพรงเสียงเพื่อความสวยงามอีก สำหรับกีตาร์โฟล์ค หรือกีตาร์แจ๊สมักจะมีแผ่นพลาสติกติดอยู่ด้านขอบโพรงเสียงใต้สาย 1 เรียกว่า Pickgard เพื่อป้องกันการขูดขีดผิวกีตาร์จากการดีดด้วยปิ๊คหรือเล็บครับ จะพบกีต้าร์ไฟฟ้าด้วยเหมือนกันครับ ยิ่งเป็นฟลาเมนโกกีต้าจะมีติดทั้งด้านสาย 6 และด้านสาย 1 เลย เพราะลักษณะการเล่นกีตาร์ฟลาเมนโก้จะมีการดีดสบัดนิ้วมากจึงป้องกันทั้ง 2 ด้าน





         3.3 ปิคการ์ด (pick guard) สำหรับกีตาร์คลาสสิกซึ่งมักไม่ใช่ปิคในการเล่นจึงไม่มีปิคการ์ด แต่กีตาร์โฟล์คมักใช้ปิคเล่นจึงมีปิคการ์ดไว้ป้องกันปิคขูดกับ body กีตาร์


         3.4 สะพานสาย (bridge) เป็นตัวที่ยึดสายให้ติดกับ body มักทำมาจากไม้โรสวูดหรือไม้อีโบนี ถ้าเป็นกีตาร์คลาสสิกจะเจาะรูในแนวขนานกับ body กีตาร์ 6 รูไว้ใช้พันสายกีตาร์ แต่ถ้าเป็นกีตาร์โฟล์คจะเจาะรูในแนวตั้งฉากกับ body และยึดสายด้วยหมุดยึดสาย(pin) แต่บางรุ่นเช่นของ Ovation ไม่ใช้หมุดแต่สอดสายจากด้านล่างของบริดจ์คล้าย ๆ กับกีตาร์คลาสสิกแต่ไม่ต้องพันสายเพราะสายโลหะจะมีหมุดล็อคอยู่ที่ปลายสาย สำหรับกีตาร์ไฟฟ้าจะทำจากโลหะเป็นส่วนใหญ่มีทั้งแบบธรรมดาคือมีหน้าที่ยึดสายอย่างเดียว และอีกแบบคือเป็นแบบคันโยกทั้งแบบเดิมและแบบใหม่ที่เรียกกันติดปากว่าฟรอยโรส การใส่สายจะยุ่งขึ้นมาอีกเล็กน้อย





         3.5 หย่อง (saddle) จะฝังหรือยึดอยู่กับสะพานสาย เพื่อรองรับสายกีตาร์ทั้ง 6 สาย มีทั้งแบบตรงสำหรับกีตาร์คลาสสิก และแบบโค้งสำหรับกีตาร์โฟล์ค บางแบบก็แยกเป็น 2 ชิ้นแล้วแต่การออกแบบของแต่ละรุ่น บางรุ่นสามารถปรับความสูงของตัวมันได้ แต่ทั่ว ๆ ไปถ้าเรารู้สึกว่ามันสูงไปเราก็สามารถจะถอดมาแล้วใช้ตะไบหรือกระดาษทรายขัดที่ฐานของมันให้ความสูงลดลง แต่ถ้าต่ำไปก็หาเศษไม้หรือกระดาษมาเสริมให้สูงตามความพอใจ


          3.6 ปิคอัฟ (pick up) โดยทั่วไปจะเห็นชัดบนกีตาร์ไฟฟ้ามากกว่าแต่ปัจจุบันกีตาร์โปร่งบางรุ่นก็มีการประกอบปิคอัฟไว้กับกีตาร์เลยเช่นประกอบไว้ที่ใต้บริดจ์หรือใต้หย่อง หรือเป็นปิคอัฟที่ซื้อมาประกอบต่างหากก็มี สำหรับกีตาร์ไฟฟ้าจะมีความสำคัญมากเพราะมันจะรับแรงสั่นสะเทือนของสายไปแปลงเป็นกระแสไฟฟ้าส่งไปยังแอมป์แล้วขยายเสียงต่อไปทำให้มนัสามารถปรับแต่งเสียงได้มากมายหลายรูปแบบแล้วแต่คุณต้องการรายละเอียดดูในอุปกรณ์เสริมสำหรับกีตาร์ได้ครับ


          3.7 ชุดคันโยก (tremolo bar) ถือว่าเป็นสเน่ห์อย่างหนึ่งของกีตาร์ไฟฟ้าเลยทีเดียวแบบเก่าที่เห็นใน fender stratocaster รุ่นเก่า ๆ   ซึ่งจะกดลงได้อย่างเดียว หรือคันโยกแบบ Bigsby ซึ่งมักพบในกีตาร์แบบ archtop หรือ semi acoustic electric ซึ่งใช้เล่นเพลงแจ๊ส หรือคันทรีเป็นต้นและปัจจุบันวงการกีตาร์ไฟฟ้าก็ได้พัฒนาไปอีกระดับกับคันโยกที่เราเรียกกันตามชื่อผู้ผลิตคือฟลอยโรสหรือคันโยกอิสระนั่นเองซึ่งสามารถโยกขึ้นลงได้อย่างอิสระช่วยให้นักกีตารืสามารถสร้างสรรค์สำเนียงดนตรีในแบบใหม่ ๆ ได้ไม่สิ้นสุด สำหรับคันโยกแบบนี้มักจะมีอุปกร์อีกตัวเพิ่มมาคือนัทแบบล็อคสายได้เพื่อช่วยป้องกันสายคลายตัวเมื่อใช้คันโยก
คันโยก Bigsby แบบต่าง ๆ





คันโยกแบบ Floyd Ros





         3.8 สวิทช์เปลี่ยนปิคอัฟ มักมีในกีตาร์ไฟฟ้าที่มีปิคอัฟหลาย ๆ ตัว เช่น 2 หรือ 3 ตัว ใช้ในการเปลี่ยนไปใช้ปิคอัฟตัวต่าง ๆ ซึ่งเสียงก็จะต่างกันไปด้วยเช่นต้องการเล่น rythym อาจใช้ตัวกลางหรือตัวบนเมื่อจะ lead ก็เปลี่ยนมาใช้ตัวล่างที่ติดกับบริดจ์เพราะให้เสียงที่แหลมกว่าเป็นต้น
          3.9 ปุ่มควบคุ่มเสียง โดยทั่วไปจะมี 2 ชุด คือชุดควบคุมความดังเบา(volume control) และชุดควบคุมเสียงทุ้มเสียงแหลม(tone control) บางทีสำหรับกีตาร์ไฟฟ้าบางรุ่นจะมีปุ่มควบคุมเสียงและ tone แยกของปิคอัฟแต่ละตัวเช่นกีตาร์ไฟฟ้าของ gibson (รุ่น SG หรือ Les Paul เป็นต้น) สำหรับกีตาร์โปร่งไฟฟ้ามักจะมีส่วนของ Equalizer เพิ่มเข้ามาด้วยสำหรับการปรับแต่งเสียงที่ละเอียดขึ้น และในกีตาร์รุ่นใหม่ ๆ เช่นของ Ovation จะมีระบบช่วยตั้งสายกีตารืรวมเข้าไปในส่วนคอนโทรลนี้ด้วย นับว่าเป็นเทคดนโลยีที่ดีช่วยนักกีตาร์ได้อย่างดีเลยครับ
          3.10 ช่องเสียบสายแจ็คไปยังแอมป์ ใช้เสียบแจ็คเพื่อต่อสายไปยังแอมป์หรือผ่านเข้ายังชุดเอฟเฟ็คต่าง ๆ ของคุณ         
         3.11 ที่ใส่สายสะพายกีตาร์ ไว้ใส่สายสะพายกีตาร์เพื่อเวลาคุณยืนเล่น












ประเภทของกีตาร์

กีตาร์โปร่ง หรือ อาคูสติกกีตาร์ นั่นเอง ก็คือกีตาร์ที่มีลำตัวโปร่งไม่ต้องอาศัยไฟฟ้าในการเล่น ซึ่งสามารถที่จะพกพาไปเล่นได้ในทุก ๆ ที่ ไม่ต้องใช้อุปกรณ์อะไรให้วุ่นวาย

Arch top กีตาร เป็นกีตาร์อีประเภทหนึ่งบ้านเราอาจจะไม่ค่อยเห็นคนเล่นมากนักลักษณะทั่ว ๆ ไป จะคล้ายกับกีตาร์โฟล์ค แต่ด้านหน้าจะโค้ง(arch แปลว่าโค้ง) ซึ่งกีตาร์โฟล์คจะแบนราบ และโพรงเสียงจะไม่เป็นแบบช่องกลม แต่จะเป็นรูปตัว f (แค่คล้ายตัว f ที่เป็นตัวเขียนไม่ใช่ตัวพิมนะครับ) อยู่ 2 ช่องบนด้านหน้าของลำตัว ส่วนสะพานยึดสายด้านล่างมักเป็นแบบหางปลา (tail piece) ส่วนมากจะใช้เล่นในดนตรีแจ๊ส

Semi Acoustic กีตาร เป็นกีตาร์ที่มีลักษณะครึ่ง ๆ หรือลูกผสมระหว่างกีตาร์โปร่งกับกีตาร์ไฟฟ้า แต่ไม่ใช่กีตาร์ดปร่งไฟฟ้านะครับ กีตาร์โปร่งไฟฟ้าก็คือกีตาร์โปร่งที่ได้มีการประกอบเอา pick up (ที่เราเรียกกันว่าคอนแทคนั่นแหละครับ) ประกอบเข้าไปกับตัวกีตาร์โปร่งทำให้สามารถต่อสายจากกีตาร์เข้าเครื่องขยายได้โดยตรง ไม่ต้องเอาไมค์มาจ่อที่กีตาร์หรือไม่ต้องไปซื้อ pick up มาต่อต่างหาก แต่ Semi Acoustic กีตาร์จะมีลำตัวโปร่ง และแบนราบ แต่จะมี pick up ติดอยู่บนลำตัว และมักจะมีช่องเสียงเป็นรูปตัว f เช่นเดียวกับแบบ arch top ซึ่งทำให้กีตาร์ประเภทนี้มีคุณสมบัติของกีตาร์โปร่งคือเล่นแบบไม่ต่อเครื่องขยายก็ได้หรือจะต่อเครื่องขยายก็สามารถเล่นได้เช่นเดียวกับกีตาร์ไฟฟ้า ส่วนใหญ่กีตาร์ประเภทนี้มักจะพบว่าใช้ในดนตรีบลูส์ หรือดนตรีแจ๊สเป็นส่วนมาก

วันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2554

เล่น อูคูเลเล่ สุดยอด

คอร์ดกีต้าร์

การตั้งสายกีตาร์

การตั้งสายกีต้าร์นั้นมีอยู่หลายวิธีแต่ส่วนมากแล้ววิธีที่นิยมใช้กันมากและง่ายคือการตั้งสายโดยการเทียบเสียงของแต่ละสาย การตั้งสายด้วยวิธีนี้จะต้องมีทักษะการฟังเสียงที่ดีในระดับหนึ่งเพื่อที่จะฟังออกว่าเสียงนั้นตรงตามโน้ตหรือยัง สำหรับคนที่เริ่มเล่นในตอนแรกอาจจะยังฟังแล้วแยกเสียงไม่ออก ก็แนะนำใช้เครื่องตั้งสายมาช่วยตั้งไปก่อน และก็พยายามหัดตั้งสายด้วยตนเอง การตั้งสายนั้นถือเป็นทักษะพื้นฐานส่วนหนึ่งที่คนหัดเล่นกีต้าร์ควรจะรู้เป็นอย่างแรก


   การตั้งสายแบบมาตรฐาน ( Standard E ) ที่ชื่อ Standard E เพราะว่าโน้ตของสายแรกเป็นโน้ต E ส่วนโน้ตของสายอื่นจะเป็นดังรูปด้านบนโดยจะเริ่มตั้งจากสาย 1 จนถึงสายที่ 6 ( ตัวอักษรสีเหลื่องในรูปด้านบนคือโน้ตในตำแหน่งที่กด )

      การตั้งเสียงของสาย 1 โดยปรับสายจนได้เสียงโน๊ต E ( ถ้าสามารถฟังเสียงของโน๊ตออก ) แต่ถ้ายังฟังเสียงโน้ตไม่ออกก็ไม่เป็นไร ก็ให้ปรับสายให้ตึงพอประมาณไม่ตึงหรือหย่อนจนเกินไป ( สำหรับคนที่เริ่มหัดเล่นไม่ต้องกังวลเรื่องโน้ตจะตรงหรือไม่ ถ้าเราเล่นหรือซ้อมคนเดียว แต่ถ้าเล่นเป็นวงแล้วส่วนมากก็จะใช้เครื่องตั้งสาย เพื่อความถูกต้องของเสียง และ ทั้งวงจะได้เล่นอยู่ในคีย์เดียวกัน )

      การตั้งเสียงของสาย 2 ดยการกดที่ สาย 2 ช่อง 5 เทียบเสียงกับสายเปล่าสาย 1แล้วดีดทั้ง 2 เส้นเทียบกันถ้าระดับเสียงต่ำกว่า สาย 1 ก็ปรับให้สายตึงขึ้น ถ้าระดับเสียงสูงกว่าก็คลายสายให้หย่อนลงจนได้ระดับเสียงเดียวกัน

      การตั้งเสียงของสาย 3 โดยการกดที่ สาย 3 ช่อง 4 เทียบเสียงกับสายเปล่าสาย 2 แล้วดีดทั้ง 2 เส้นเทียบกันถ้าระดับเสียงต่ำกว่า สาย 2 ก็ปรับให้สายตึงขึ้น ถ้าระดับเสียงสูงกว่าก็คลายสายให้หย่อนลงจนได้ระดับเสียงเดียวกัน

      การตั้งเสียงของสาย 4 โดยการกดที่ สาย 4 ช่อง 5 เทียบเสียงกับสายเปล่าสาย 3 แล้วดีดทั้ง 2 เส้นเทียบกันถ้าระดับเสียงต่ำกว่า สาย 3 ก็ปรับให้สายตึงขึ้น ถ้าระดับเสียงสูงกว่าก็คลายสายให้หย่อนลงจนได้ระดับเสียงเดียวกัน

      การตั้งเสียงของสาย 5 โดยการกดที่ สาย 5 ช่อง 5 เทียบเสียงกับสายเปล่าสาย 4 แล้วดีดทั้ง 2 เส้นเทียบกันถ้าระดับเสียงต่ำกว่า สาย 4 ก็ปรับให้สายตึงขึ้น ถ้าระดับเสียงสูงกว่าก็คลายสายให้หย่อนลงจนได้ระดับเสียงเดียวกัน

      การตั้งเสียงของสาย 6 โดยการกดที่ สาย 6 ช่อง 5 เทียบเสียงกับสายเปล่าสาย 5 แล้วดีดทั้ง 2 เส้นเทียบกันถ้าระดับเสียงต่ำกว่า สาย 5 ก็ปรับให้สายตึงขึ้น ถ้าระดับเสียงสูงกว่าก็คลายสายให้หย่อนลงจนได้ระดับเสียงเดียวกัน

วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2554

ประวัติความเป็นมาของกีตาร์

กีตาร์ถือเป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่งของมนุษย์เพียงแต่ชื่อเรียกและรูปร่างย่อมแตกต่างกันไปตามแต่ละยุคสมัย ซึ่งเริ่มเป็นที่นิยมในแถบเปอร์เซียและตะวันออกกลางหลายประเทศต่อมาได้เผยแพร่ไปยังกรุงโรมโดยชาวโรมันหรือชาวมัวร์ จากนั้นก็เริ่มได้รับความนิยมในสเปน ในยุโรปกีตาร์มักเป็นที่นิยมในหมู่ชนชั้นสูง และมีเชื้อพระวงศ์หลายพระองค์ที่ให้ความสนใจและศึกษาอย่างเช่น Queen Elizabeth I ซึ่งโปรดกับ Lute lซึ่งถือว่าเป็นต้นแบบของกีตาร์ก็ว่าได้ แต่การพัฒนาที่แท้จริงนั้นได้เกิดจากการที่นักดนตรีได้นำมันไปแสดงหรือเล่นร่วมกับวงดนตรีของประชาชนทั่ว ๆ ไปทำให้มีการเผยแพร่ไปยังระดับประชาชนจนได้มีการนำไปผสมผสานเข้ากับเพลงพื้นบ้านทั่ว ๆ ไปและเกิดแนวดนตรีในแบบต่าง ๆ มาขึ้น

วันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2554

คอร์ดเพลง เธอยัง.....

Bsus2     G#m7
ฉันยังเป็นคนที่รักเธอหมดใจ ฉันยังได้แต่คิดถึงเธอเรื่อยไป
Emaj7 D#m7  C#m7   F#
ฉันยังดูรูปถ่าย ที่เราชิดใกล้ อยู่ทุกวัน
Bsus2             G#m7
ฉันยังรอคอยให้เธอนั้นกลับมา ฉันยังกาปฏิทินทุกคืนวัน
Emaj7   D#m7      C#m7   F#         
เพราะคำเดียวระยะทาง ที่มาขวางกั้น เราไว้   

   
     D#m7      G#m7        G#7sus4 G#7
* ได้แต่คิดแล้วก็สงสัย อยู่ตรงนั้นเธอเป็นอย่างไรก็ไม่รู้         
    C#m7      D#m7  C#m7     F#   
ฝากเพลงนี้ให้ไปถามเธอดู อยากจะรู้ในความเป็นไป


     Bsus2                         G#m7

เธอยังคิดถึงฉันทุกนาทีรึเปล่า เธอยังจำเรื่องเราในวันวานได้หรือไม่
  Emaj7           D#m7     
เธอยังมีใจให้ฉันคนเดียว ยังรอฉันแค่คนเดียว          
    C#m7         F#               Bsus2    
เธอยังคงเป็นเหมือนเดิมอยู่ใช่ไหม ช่วยบอกให้รู้ที


Bsus2                   G#m7
ฉันกลัวใครทำให้เธอนั้นเปลี่ยนไป ฉันกลัวสิ่งที่ไม่แน่นอนมากมาย
Emaj7     D#m7   C#m7  F#
ฉันกลัวคำว่าเสียใจ เธอรอฉันได้ ใช่ไหม
(ซ้ำ *)

                 Bsus2           G#m7

** เธอยังคิดถึงฉันทุกนาทีรึเปล่า เธอยังจำเรื่องเราในวันวานได้หรือไม่
           Emaj7          D#m7     
เธอยังมีใจให้ฉันคนเดียว ยังรอฉันแค่คนเดียว          
   C#m7            F#
เธอยังคงเป็นเหมือนเดิมอยู่ใช่ไหม
          Bsus2                      G#m7

เธอยังคิดถึงฉันทุกเวลาอยู่รึเปล่า เธอยังดูรูปเราใบเดิมเดิมอยู่หรือไม่
         Emaj7               D#m7            
เธอยังมีใจให้ฉันคนเดียว ยังรอฉันแค่คนเดียว
  C#m7       F#    ( Bsus2 )

เธอยังรักกันเหมือนเดิมอยู่ใช่ไหม ช่วยบอกให้รู้ทีSOLO : /Bsus2/Bsus2/G#m7/G#m7/Emaj7/D#m7/C#m7/F#/

(ซ้ำ * ,**)

หัดเล่นกีต้าเบาๆ